top of page
รูปภาพนักเขียนKsher Payment

แม่ค้าออนไลน์ยุค 2021 ต้องรู้ ระบบการชำระเงินออนไลน์ มีอะไรบ้าง

อัปเดตเมื่อ 2 ก.ค. 2564




ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญอย่างมากในหลากหลายภาคธุรกิจ ไม่เว้นแม้กระทั่งการจับจ่ายซื้อสินค้าจากพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย การจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการผ่านทางออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติหรือ new normal ของสมัยนี้ อีกทั้งหลายๆคนก็หันมาประกอบอาชีพค้าขายออนไลน์เพื่อหารายได้เสริม ทำให้ภาคธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด


หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังเริ่มค้าขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทราบ คือ ระบบการชำระเงินออนไลน์ ในบทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบชำระเงินออนไลน์เพื่อช่วยคุณเตรียมพร้อมสู่การขายออนไลน์แห่งยุค 2021


ก่อนอื่นมาทำความรู้จักก่อนว่าระบบชำระเงินออนไลน์ คือ ระบบชำระเงินแทนการใช้เงินสดที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อสินค้าหรือบริการบนโลกออนไลน์ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Electronic Payment System หรือ E-Payment โดยสามารถทำการชำระเงินได้ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ตและสมาร์ทโฟน ซึ่งดำเนินการได้ง่าย ทุกที่ ทุกเวลาและสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังมีความปลอดภัยและทำการตรวจสอบประวัติการชำระเงินย้อนหลังได้อีกด้วย จึงไม่แปลกใจที่ในยุคปัจจุบัน ผู้คนหันมาใช้ระบบชำระเงินออนไลน์กันมากขึ้น


ระบบชำระเงินออนไลน์ มีอะไรบ้าง

สำหรับประเทศไทยนั้น มีระบบชำระเงินออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอยู่หลักๆ อยู่ 4 ประเภทด้วยกัน


1. Payment gateway

เป็นช่องทางชำระเงินออนไลน์ที่เป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ (E-commerce) สามารถรับชำระด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตได้ โดยสามารถแยกออกเป็นสองแบบคือชำระโดยตรงกับทางธนาคารเช่น K-payment gateway ของธนาคารกสิกรหรือผ่านตัวกลางอย่างเช่น Omise, Siampay, 2C2P เป็นต้น

ข้อดี: รองรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ข้อเสีย: จำเป็นจะต้องมีเว็บไซต์ E-commerce และอาจจะมีค่าธรรมเนียมติดตั้งและค่าธรรมเนียมรายเดือน รวมทั้งค่าธุรกรรมค่อนข้างสูง


2. PayPal

มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอเมริกา โดยเป็นบริษัทรับชำระเงินออนไลน์ที่รองรับการใช้งานในหลายประเทศเลยทีเดียวรวมทั้งประเทศไทยด้วยเช่นกัน Paypal เป็นที่คุ้นเคยของคนไทยเป็นอย่างดีเนื่องจากเข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยร้านค้าหลายๆร้านเลือกใช้บริการ Paypal เนื่องมาจากสะดวกและสมัครง่าย ไม่จำเป็นต้องมีเอกสารมากมาย แต่ก็มีข้อเสียคือค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง ข้อดี: สมัครง่ายไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย สามารถชำระเงินหรือรับเงินได้ง่าย มีความปลอดภัยสูงและเป็นที่ยอมรับของสากล และไม่มีค่าธรรมเนียมในการชำระเงิน ข้อเสีย: ค่าธุรกรรม Transaction fee ค่อนข้างสูงถึงเกือบ 5% และที่สำคัญในขณะนี้ (มิถุนายน 2021) Paypal ไม่รองรับการการสมัครบัญชีใหม่ในประเทศไทยชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่ากำลังปรับปรุงระบบ แต่สำหรับผู้ที่มีบัญชีกับ Paypal อยู่แล้วจะสามารถใช้งานได้ตามปกติ


3. การโอนเงินผ่านระบบ iBanking, mBanking หรือพร้อมเพย์

ลูกค้าสามารถชำระเงินให้กับร้านค้าด้วยการโอนเงินผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร นอกจากนี้ในปัจจุบันยังนิยมชำระเงินผ่านพร้อมเพย์เช่นกัน เนื่องมาจากในปัจจุบันทุกธนาคารพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้รองรับการชำระเงินด้วยพร้อมเพย์แล้ว จึงถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการชำระเงินออนไลน์ที่ได้รับความนิยมไม่น้อย ข้อดี: สามารถโอนเงินระหว่างธนาคารได้ทันที ข้อเสีย: มีความยุ่งยากเนื่องมาจากผู้ซื้อต้องชำระเงินผ่านแพลตฟอร์มอื่น เช่น ซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ แต่ตไม่สามารถชำระบนเว็บไซต์นั้นได้ ทำให้ยุ่งยากและเสียเวลา อีกทั้งผู้ขายก็ต้องตรวจสอบการชำระเงินก่อนจึงยืนยันคำสั่งซื้อได้ ทำให้เสียเวลาไม่น้อย


4. LinkPay

LinkPay เป็นระบบชำระเงินออนไลน์รูปแบบใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในการค้าขายออนไลน์ เนื่องมาจากการใช้งานที่ง่ายและสะดวก รองรับการชำระเงินทั้งบัตรเครดิต เดบิต โอนเงินผ่านธนาคารและพร้อมเพย์ รวมทั้ง E-wallet ต่างๆ โดยฝั่งผู้ขายสามารถสร้างลิงค์การชำระเงินและส่งให้ลูกค้าเพื่อทำการชำระเงินได้ทันที โดยเมื่อลูกค้าคลิกที่ลิงค์ก็จะนำลูกค้าไปยังหน้าชำระเงินที่มีระบบความปลอดภัยสูง เพื่อป้องกันข้อมูลทางการเงินของลูกค้า รวมทั้งมีขั้นตอนการสมัครที่ไม่ยุ่งยากและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ก็สามารถใช้งาน LinkPay ได้ จึงเหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งรายใหญ่และรายย่อย ผู้ให้บริการ LinkPay ในประเทศไทยได้แก่ Ksher โดยสามารถติดต่อขอรับบริการ LinkPay ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านตัวแทนใดๆ


Ksher เป็นผู้ให้บริการด้านระบบชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทย โดยมีผลิตภัณฑ์และบริการที่รองรับการชำระเงินที่หลากหลาย และเมื่อเร็วๆนี้ยังได้จับมือกับยักษ์ใหญ่อย่างวีซ่า (VISA) เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับชำระเงินให้กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อีกด้วย หากต้องการสอบถามหรือขอคำปรึกษาเรื่องระบบการชำระเงินออนไลน์ คลิกที่นี่ เพื่อติดต่อ Ksher


Comments


bottom of page